แปลงยาสุดยี้ให้น่าทานขึ้นด้วยโอบลาตเยลลี่!

แปลงยาสุดยี้ให้น่าทานขึ้นด้วยโอบลาตเยลลี่!

คนไทยอาจจะไม่คุ้นกับของสิ่งนี้เท่าไหร่นัก โอบลาต (Oblaat) ในภาษาญี่ปุ่น หมายถึงแผ่นใสทำจากแป้งสามารถรทานได้ ละลายง่ายในน้ำ แม้ดูดซึมสู่ร่างกายก็ไม่เป็นอันตราย จึงเอาไว้ใช้ห่อขนมดากาชิหรือห่อยาในญี่ปุ่นค่ะ


คำว่า oblaat นี้ไม่ได้มีที่มาจากภาษาอังกฤษนะคะ ที่มานั้นมาจากคำว่า oblaat ในภาษาดัตช์ หรือ oblate ในภาษาเยอรมัน โอบลาตในความหมายของญี่ปุ่นจะตรงกับ wafer paper ในภาษาอังกฤษค่ะ โอบลาตถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นโดยบริษัทยาสัญชาติดัตช์ในปลายศตวรรษที่ 19 สำหรับใช้ห่อยารสชาติไม่อร่อย เมื่อห่อยาด้วยแผ่นโอบลาตนี้แล้วก็จะได้ไม่ต้องสัมผัสรสขมจากผงยาไงล่ะคะ

 

この投稿をInstagramで見る

 

ネコ缶さん。(@urakari3)がシェアした投稿


โอบลาตถูกนำไปใช้ห่อขนมดากาชิ เช่น บงตันอาเมะ คาราเมลมันเทศ เฮียวโรคุโมจิ เป็นต้น

นอกจากยาแผนปัจจุบันแล้ว ที่ญี่ปุ่นยังมีการใช้ยาพื้นบ้านที่เรียกว่า “คัมโป” รักษาควบคู่กันไปด้วย ซึ่งยาคัมโปไม่ได้อยู่ในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูลที่รับประทานได้ง่ายเท่าไหร่นัก คนญี่ปุ่นก็มักจะห่อยาด้วยโอบลาตก่อนแล้วจึงรับประทานค่ะ

เพื่อการทานยาที่ง่ายขึ้น ก็มีบริษัทยาที่ผลิตโอบลาตในรูปแบบ “เยลลี่” ออกสู่ท้องตลาด บทความนี้จะขอแนะนำ Raku Raku Fukuyaku Jelly ของบริษัทยา Ryakukausan ค่ะ โดยเป็นบริษัทแรกในโลกที่คิดค้นโอบลาตเยลลี่นี้ขึ้นในปี 1998

Raku Raku Fukuyaku Jelly มีวิธีรับประทานสองแบบคือ “ห่อ” ยาแล้วรับประทาน

 

この投稿をInstagramで見る

 

tama(@toki.tamakazu)がシェアした投稿



โอบลาตชนิดนี้เหมาะทานกับยาประเภทเม็ดและแคปซูล

แบบที่สองคือ “คลุกผสม” กับยา

 

この投稿をInstagramで見る

 

こみすみーちゃ(@komisumichiya)がシェアした投稿



โอบลาตชนิดนี้เหมาะทานกับยาผง

Raku Raku Fukuyaku Jelly เหมาะกับผู้ที่ต้องทานยาเยอะหลายขนานจนจำไม่ได้ ผู้ที่ไม่ชอบรสชาติขมของยาผง ทานยาแล้วรู้สึกว่าติดคอ เป็นต้นค่ะ โดยบริษัท Ryakukausan ได้โฆษณาว่าสองสิ่งที่ได้รับผิดชอบในฐานะผู้ผลิตยานั้น ได้แก่

(1) ไม่ใส่น้ำตาลและสารกันบูด – เพราะเมื่อใส่น้ำตาลและสารกันบูด มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาได้ ผู้ที่ต้องคุมน้ำตาลหรือคุมแคลอรี่ควรระวังเป็นพิเศษ
(2) มีความเป็นของเหลวลื่นไม่ติดคอ – เพราะหากเป็นเยลลี่ที่เหนียวไม่ลื่น อาจทำให้ติดคอ

ยิ่งกว่านั้นยังมีแบบที่ผสมรสผลไม้เพื่อให้ทานง่ายยิ่งขึ้น และเพื่อเอาใจคุณๆ หนู ได้แก่ สตรอเบอร์รี่ องุ่น ลูกท้อ ช็อกโกแลต เลมอน ช็อกโกแลตสตรอเบอร์รี่และเยลลี่กาแฟ

Raku Raku Fukuyaku Jelly ประกอบด้วยน้ำ 85% ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ แต่จะดื่มก็ไม่เป็นไรเช่นกันค่ะ หลังเปิดใช้แล้วควรเก็บรักษาในตู้เย็นและทานให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ (รสช็อกโกแลต ควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน) เพราะ Raku Raku Fukuyaku Jelly ไม่ผสมสารกันบูดใดๆ ไว้

สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นหรือสั่งออนไลน์ก็ได้ สำหรับรายละเอียดของ Raku Raku Fukuyaku Jelly ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

About the author

DarkNeon

ดูบทความผู้เขียน

ฟรีแลนซ์พเนจรที่รักอิสระกว่าสิ่งใด เริ่มหัดภาษาญี่ปุ่นจากอนิเมกับเกม

ปัจจุบันมีประสบการณ์ทำงานแปลมา 10 ปี อนิเมกับเกมเป็นจุดเริ่มต้นให้
ตอนนี้เริ่มหันมาสนใจการเดินทาง และอยากบอกเล่าประสบการณ์แปลกๆ
ที่พบเจอมาให้ผู้อ่านได้รู้

ถูกใจ แชร์เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตามไปดูเทศกาลไหว้พระจันทร์ของคนญี่ปุ่นกัน

มาผูกโอบิเป็นรูปมิกกี้สำหรับหน้าร้อนนี้กันไหมคะ

FREITAG (ฟรายถาก) ยอดนิยมในห้างลอฟท์สาขาอุเมดะ

เช็คก่อนไป ของต้องห้ามไม่ให้นำเข้าประเทศญี่ปุ่น

Denim Rilakkuma 2017

Kimi no nawa ทำรายได้เบียดหนังของจิบลิขึ้นอันดับหนังทำเงินของญี่ปุ่น

“มูฮิเบบี้ครีม : MUHI Baby Cream” ครีมที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มคุณแม่ลูกอ่อน

กันแดดสูตรน้ำนม : ANESSA Perfect UV Sunscreen Skincare Milk SPF50+ PA++++

วิคญี่ปุ่นยี่ห้อพีเจ้น (Pigeon)