เดินทางด้วยรถไฟอย่างไรให้ประหยัดเวลา ฉบับรถไฟใต้ดินโอซาก้า

เดินทางด้วยรถไฟอย่างไรให้ประหยัดเวลา ฉบับรถไฟใต้ดินโอซาก้า

เคยไหมครับ จะขึ้นรถไฟไปที่ไหนสักที่ในญี่ปุ่น เปิดกูเกิลดูแผนที่วางแผนการเดินทางซะดิบดี ขึ้นรถไฟที่นี่ เปลี่ยนรถที่สถานีนี้ โอ้ 15 นาทีเอง
แต่เอาจริง ๆ ปาเข้าไป 30 นาที
ปัญหามันมักจะเกิดตอนเปลี่ยนรถไฟ ลงรถแล้วต้องเดินไปทางไหนดี หันซ้ายแลขวา พอเจอป้ายบอกทางแล้วก็เดินตามป้ายไป
เดินตามป้ายไปจนถึงรถไฟสายที่จะขึ้นกลับพบว่ามาผิดทิศ รถไฟสายเดียวกัน แต่ไม่ได้มุ่งหน้าไปในสถานีที่เราต้องการจะไป
ก็เลยต้องย้อนกลับมาอีกด้าน ขึ้นบันได ลอดอุโมงค์มาจนถึงอีกด้าน แต่รถไฟเจ้ากรรมดันปิดประตูวิ่งออกไปต่อหน้าต่อตา ทิ้งให้เราก้าวขาค้าง มองด้วยตาละห้อย แล้วต้องรอต่อไปอีกหลายนาที จนรถไฟคันใหม่จะมา
ถ้าจะให้ใช้เวลา 15 นาทีแล้วไปถึงจุดหมายปลายทางแบบคนญี่ปุ่น แต่คุณไม่มีฝีเท้าที่ว่องไวแบบคนญี่ปุ่นและความคุ้นเคยชินแล้วเส้นทางแล้วละก็ ระหว่างรอรถไฟ ให้ลองมองป้ายรอบ ๆ ตัว อาจจะเจอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แบบนี้ครับ
สำหรับรถไฟฟ้าใต้ดินโอซาก้า หรือ Osaka Municipal Subway จะมีป้ายหน้าตาแบบรูปข้างล่างนะครับ สีของป้ายจะต่างกันไปตามสายของรถไฟ อย่างในรูปเป็นรถไฟสายเซนนิจิมะเอะ สายสีชมพู ก็จะเป็นป้ายสีชมพูในรูปเลยครับ

 

この投稿をInstagramで見る

 

Yamas(@yamas_e217_photo)がシェアした投稿


ทีนี้เรามาดูวิธีการอ่านป้ายกันนะครับ
คอมลัมม์สีชมพูด้านซ้ายสุดจะเป็น ชื่อสถานีนะครับ ส่วนช่องสี่เหลี่ยมในแต่ละแถวจะเป็นเลขตู้รถไฟครับ

สมมติว่าเราจะเดินทางจากสถานี Namba ไปยังสถานี Tengachaya ซึ่งเป็นสถานีรถไฟสายสีน้ำตาล
ถ้าเปิดในกูเกิลแมพ เขาจะบอกให้ไปเปลี่ยนรถที่สถานี Nippombashi
วิธีการจะดูว่าเราควรจะขึ้นรถไฟตู้ไหนคือให้ ดูในแถวที่เป็นสถานีที่จะเปลี่ยนรถ ซึ่งในที่นี้คือ Nippombashi
และดูในตู้รถไฟว่า ตู้ไหนเขียนสายรถไฟที่เราจะเปลี่ยนติดไว้
จากรูปจะเห็นว่ามีสองตู้ที่ใกล้กับรถไฟสายสีน้ำตาล คือตู้ที่ 1 กับ 4
แล้วทีนี้จะเลือกตู้ไหนหละ ?
ให้ก้มดูกูเกิลอีกทีหนึ่งว่า สถานีที่เราจะไป รถไฟกำลังจะมุ่งหน้าไปทางไหน
ลองดูรูปแผนที่กูเกิลนะครับ จะเห็นว่าสถานีเป้าหมายของเราในที่นี้ อยู่ทางด้าน Tengachaya

ทีนี้ก็ลองมองดูป้ายอื่น ๆ รอบ ๆ ตัวอีกทีนะครับว่า Tengachaya เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างไร
จะเจอว่า Tengachaya ก็คือ 天下茶屋
เทียบกับป้ายแล้ว จะเข้าใจว่าเราควรขึ้นรถไฟตู้ที่ 1 เวลาลงจากรถไฟตู้นี้ปุ๊บ จะเจอบันไดเลื่อนเชื่อมต่อไปยังรถไฟสายสีน้ำตาลทันทีเลย
แต่ถ้าดูผิด หลงไปขึ้นตู้เบอร์ 4 ก็ถึงสายสีน้ำตาลเหมือนกันนะครับ แต่รถไฟจะไม่วิ่งไปสถานี Tengachaya ที่เราอยากไป


หลังจากนั้นก็ไปรอขึ้นรถไฟเบอร์ 1 ตรงประตู หรือพื้นที่เขียนว่า 1 号車 นะครับ

ปล. 1 รถไฟสายอื่นอาจมีป้ายในลักษณะคล้าย ๆ กัน ลองประยุกต์ใช้หลักการนี้ในการอ่านป้ายนะครับ
ปล. 2 ปริศนะ ปุญพ์ มีเฟซบุ๊คแฟนเพจด้วยนะครับ ชื่อ บันทึกจากแดนอาทิตย์ ครับ

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

About the author

profilepicture

ปริศนะ ปุญพ์

ดูบทความผู้เขียน

ปริศนะ ปุญพ์ หนุ่มไทยไกลบ้าน ผู้ผ่านร้อนผ่านหนาวในโอซาก้ามานานกว่า 3 ปี และคงจะใช้ชีวิตอย่างสงบที่ประเทศญี่ปุ่นไปอีกสักพัก
ปริศนะ ปุญพ์ เป็นคนพูดน้อย น้อยซะจนเรียกว่าไม่พูดเลย จนกลายเป็นคนที่เข้าถึงได้ยาก มีคนบางคนพยายามแกล้งจะมองตาชายหนุ่มคนนี้ ด้วยหวังให้ดวงตาจะเป็นหน้าต่างของหัวใจ หวังให้เป็นช่องทางเข้าไปสู่โลกส่วนตัวของเขา แต่ทว่าปริศนะ ปุญพ์ ก็หลบสายตาทุกครั้ง หน้าต่างบานนี้คงไม่เหมาะสำหรับเจาะใจชายคนนี้
แต่ !!! มันก็มีหน้าต่างบานหนึ่งนะที่ปริศนะ ปุญพ์ ไม่เคยปิด นั่นคือบทความต่าง ๆ ที่เขาเขียนไว้ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค
และตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 เป็นต้นไป ปริศนะ ปุญพ์ ได้สร้างต่างบานใหม่ บานใหญ่ขึ้น ด้วยการตกลงรับงานนักเขียนในเว็บไซต์นี้ เขาหวังเป็นอย่างยิ่งบทความของเขาจะสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้อ่าน และเป็นสื่อให้ผู้อ่านได้ยินเสียงที่ดังอยู่ในความคิดของเขาได้
ปล. เขาว่ากันว่าคนมีโลกส่วนตัวสูงแบบปริศนะ ปุญพ์ มักเข้าถึงจาก แต่ถ้าเข้าถึงใจเขาได้แล้ว เขาจะรักคุณตลอดไป

ถูกใจ แชร์เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บรรยากาศใบไม้เปลี่ยนสีที่ปราสาทโอซาก้า

งานแสดงศิลปะ “ปฏิทินของจิ๋ว” ที่โอซาก้า

ถนนสายมิโดสุจิกับใบไม้เปล่งแสงหลังตะวันแดงลับฟ้า

เมืองพ่อมดแฮรี่ พอตเตอร์ ฉลอง X’mas ครั้งแรก

ชีสเค้ก Rikuro Ojisan และ Tetsu Ojisan ความเหมือนที่แตกต่าง

NIFREL สวนสัตว์รูปแบบใหม่สไตล์โมเดิร์น สวรรค์ของคนรักสัตว์

อร่อยกับเค้กผลไม้ตามฤดูกาลที่ร้านเค้ก Gokan โอซาก้า

แสง สี เสียง และค่ำคืนดี ๆ ที่นะกะโนะชิมะ ศาลากลางจังหวัดโอซาก้า

America Mura ย่านฮิตที่วัยรุ่นโอซาก้าไปกัน