ทำความรู้จักกับอาหาร 9 อย่างที่ทานในวันเซ็ตสึบุน

ทำความรู้จักกับอาหาร 9 อย่างที่ทานในวันเซ็ตสึบุน

ไม่ทราบว่าผู้อ่านเคยได้ยินชื่อ “เทศกาลเซ็ตสึบุน” หรือไม่คะ วันนี้เป็นวันก่อนเข้าฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งตรงกับ 3 ก.พ. ของทุกปี (บางปีเป็นวันที่ 4 ก.พ.) เทศกาลที่ผู้คนปาถั่วไล่ยักษ์กันนั่นแหละ เชิญคนดังไปปาตามงานวัดบ้าง ให้ผู้ชายในครอบครัวแต่งตัวเป็นยักษ์แล้วคนอื่นปาถั่วไล่ยักษ์บ้าง แต่ว่าวันนี้เราจะไม่พูดถึงที่มาประเพณีอะไรต่างๆ พวกนั้น เมื่อมีเทศกาลย่อมมีของกิน! เราจะมาพูดถึงของกินอร่อยๆ ในเทศกาลเซ็ตสึบุนค่ะ หลังการปาถั่วจบลงแล้ว ผู้คนมักรับประทานถั่วหรือไม่ก็ข้าวปั้นแท่งยาวที่เรียกว่า “เอโฮมากิ” แต่คนในบางภูมิภาคก็ไม่คุ้นเคยกับการทานเอโฮมากิหรอกนะคะ และผู้เขียนได้หาข้อมูลมาแบ่งปันให้ผู้อ่านทราบด้วยว่าในวันเซ็ตสึบุนนี้คนญี่ปุ่นเขาทานอะไรกัน

1. เอโฮมากิ

ที่มาของการเริ่มทานเอโฮมากิในเทศกาลเซ็ตสึบุนนั้นไม่มีการยืนยันชัดเจน ทฤษฎีที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ เหล่าพ่อค้าที่โอซาก้าทานเอโฮมากิโดยอธิษฐานขอให้ “ทำมาค้าขึ้น” และ “ขับไล่สิ่งอัปมงคล” เริ่มแพร่หลายไปทั่วประเทศเมื่อถูกเอามาจำหน่ายทั่วประเทศใน 7-11 เมื่อปี 1998 โดยใช้ชื่อ “เอโฮมากิ” โดยก่อนหน้านั้นไม่ปรากฏว่าเคยเรียกว่าเอโฮมากิแต่อย่างใด ความหมายในการทานเอโฮมากิคือ

(1) การห่อวัตถุดิบ 7 อย่างเป็นการสื่อถึงเทพเจ้าโชคลาภทั้งเจ็ด ดึงเอาโชคลาภเข้ามาและขอพรให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ทำมาค้าขึ้น

(2) เอโฮมากิคือกระบองของยักษ์ที่ทำตกไว้ตอนหนีไปเมื่อถูกปาถั่ว สิ่งนี้เป็นการบอกว่าการไล่ยักษ์เสร็จสิ้นแล้ว

2. ถั่วเหลือง

ที่มาของการกินถั่วเหลืองมาจากเสียงคล้องจองของคำว่าถั่ว (มาเมะ) กับ “ตาปีศาจ” ที่อ่านออกเสียงว่ามาเมะเช่นเดียวกัน ความหมายของการทานถั่วมีที่มาจากการที่สมัยก่อนเชื่อว่าอาหารที่มีเปลือก (เช่น ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวสาลี) มีพลังวิญญาณหรือพลังชีวิตอยู่ และอธิษฐานขอให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยโดยการรับเอาพลังงานนั้นเข้าไป

3. ถั่วลิสง

ถั่วลิสงถูกนำเอามาใช้แทนถั่วเหลืองในการปาถั่วแถบภูมิภาคอากาศหนาวอย่างโทโฮคุหรือฮอกไกโด เหตุผลที่ใช้ถั่วลิสงคาดว่าน่าจะมาจากการที่หาพบได้ง่ายแม้ตกบนพื้นหิมะ และถั่วลิสงมีแคลอรี่สูงเหมาะกับพื้นที่อากาศหนาว

4. ปลาซาร์ดีน

ว่ากันว่ายักษ์เกลียดกลิ่นของปลาซาร์ดีน หากเอามาประดับที่ประตูจะป้องกันไม่ให้ยักษ์เข้าบ้านได้

5. วาฬ

เป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้เป็นหลักใน จ.ยามากุจิ ว่ากันว่า “การกินของใหญ่จะทำให้โชคดี” ดังนั้นวาฬซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ใหญ่ที่สุดจึงกลายเป็นตัวแทน “ของใหญ่”

6. โซบะ

เพราะสมัยก่อนเซ็ตสึบุนถือเป็น “วันก่อนขึ้นปีใหม่” โซบะที่ทานในวันเซ็ตสึบุนจึงเป็นโซบะข้ามปี

7. คอนเนียคุ

คอนเนียคุเป็นอาหารที่เปี่ยมด้วยเส้นใยไฟเบอร์ เมื่อทานเข้าไปแล้วจะช่วยทำความสะอาดและขับพิษออกจากร่างกาย ไม่ปรากฏเหตุผลชัดเจนที่ทานคอนเนียคุในเซ็ตสึบุน แต่คาดว่าเพราะสมัยก่อนวันเซ็ตสึบุนตรงกับวันขึ้นปีใหม่ จึงทานคอนเนียคุเพื่อเป็นการชำระล้างร่างกาย

8. ซุปเคนจิน

ซุปเคนจินทำจากหัวไชเท้า แครอท ผักโกโบ มันฝรั่ง เอาไปผัดในน้ำมันงากับคอนเนียคุและเต้าหู้ จากนั้นนำไปต้มและปรุงรสด้วยโชยุ คาดว่าที่เริ่มทานในวันเซ็ตสึบุนเพราะซุปเคนจินเป็นอาหารที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในฤดูหนาว จึงทานในวันเซ็ตสึบุนไปด้วยโดยปริยาย

9. ชามงคล (ฟุคุฉะ)

เป็นเครื่องดื่มที่ดื่มกันทั่วประเทศ อธิษฐานให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแปลและเรียบเรียงจาก

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

About the author

DarkNeon

ดูบทความผู้เขียน

ฟรีแลนซ์พเนจรที่รักอิสระกว่าสิ่งใด เริ่มหัดภาษาญี่ปุ่นจากอนิเมกับเกม

ปัจจุบันมีประสบการณ์ทำงานแปลมา 10 ปี อนิเมกับเกมเป็นจุดเริ่มต้นให้
ตอนนี้เริ่มหันมาสนใจการเดินทาง และอยากบอกเล่าประสบการณ์แปลกๆ
ที่พบเจอมาให้ผู้อ่านได้รู้

ถูกใจ แชร์เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แผ่นดีท็อกซ์เท้าอันดับหนึ่งของฝากจากญี่ปุ่น

มนต์เสน่ห์ความงามของเรียวเล็บจาก “MAJOLICA MAJORCA : มาจอลิกา มาจอร์กา”

บัตรซุยกะ (Suica) ช่วยให้การเที่ยวในญี่ปุ่นสะดวกขึ้นกว่าเดิม

รองเท้าเด็ก Onitsuka Tiger รุ่น MEXICO MID RUNNER PS แบบหุ้มข้อ

ต้อนรับฤดูร้อนกับพัดลายสวยๆ จากคาแรกเตอร์ของสตูดิโอจิบลิ

มาระบายสีกันเถอะ

LineHunter อายไลน์เนอร์เส้นคมของMajolica Majorca

เผยโฉมคบเพลิงโอลิมปิกโตเกียว 2020 ดีไซน์ล้ำ “ซากุระทอง”

CEZANNE Highlight Stick/Shading Stick ใหม่ล่าสุด