รู้หรือไม่? ซูชิแซลมอนจริงๆ แล้วแต่เดิมไม่ได้มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น

2017/09/08

จนวันนี้ได้ไปเจอวีดีโอนึงที่เขาอธิบายว่าซูชิแซลมอนมีที่มาอย่างไร เลยอยากเอามาแบ่งปันเล่าสู่กันฟัง

เป็นจริงอย่างว่าค่ะ ซูชิแซลมอนไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่นแต่มาจากนอร์เวย์ต่างหากล่ะคะ แซลมอนดิบเพิ่งจะมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารญี่ปุ่นเมื่อปี 1995 นี่เอง นั่นก็เพราะว่าในตอนนั้นแซลมอนแปซิฟิกมีปรสิต ก็เลยไม่มีปลาแซลมอนเป็นวัตถุดิบในเมนูใดๆ เลย

 

แต่ที่เราได้กินซูชิแซลมอนทุกวันนี้ อันนี้ก็ต้องยกความดีนี้ให้กับผู้ชายที่ชื่อ บิยอร์น โอลเซน (Bjorn Olsen) ในช่วงยุค 80’s ประเทศนอร์เวย์ประสบกับปัญหาจำนวนปลาแซลมอนล้นความต้องการของตลาดจนรัฐบาลถึงกับต้องเข้าไปแทรกแซงด้วยการให้เพิ่มผลผลิตในการส่งออก

แล้วก็ได้คุณ บิยอร์น เนี่ยแหละค่ะเป็นหัวหน้าในโครงการส่งออกนี้และเขาก็คิดว่าญี่ปุ่นเนี่ยแหละเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะเป็นประเทศที่บริโภคปลารายใหญ่ที่สุด


แต่มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด และเขากลับเจอปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่ใช่เพราะญี่ปุ่นมีปริมาณปลาแซลมอนมากเพียงพออยู่แล้ว แต่เป็นเพราะก่อนช่วงยุค 80’s คนญี่ปุ่นเขาไม่ทานปลาแซลมอนดิบต่างหากล่ะค่ะ


แม้ว่าปลาแซลมอนแอตแลนติกจะไม่มีปรสิตและสามารถทานแบบดิบๆได้ แต่อย่างที่รู้กันนะคะว่าญี่ปุ่นเขาค่อนข้างจะเซนซิทีฟเรื่องความปลอดภัยและความสะอาด การจะเกลี้ยกล่อมให้ชาวญี่ปุ่นหันมาบริโภคแซลมอนดิบเลยกลายเป็นงานหินไป

หลังจากพยายามแล้วพยายามอีกอยู่นานแต่ไม่ได้ผล ในที่สุดก็ได้มาร่วมมือกับบริษัท นิชิเร (Nishi Rei) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารแช่แข็งและอุตสาหกรรมห้องเย็นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น


Credit: istockphoto
บิยอร์น ได้สร้างความเชื่อมั่นและขายปลาแซลมอนนอร์เวย์ให้เป็นจำนวน 5,000 ตันซึ่งบริษัทได้ขายต่อให้กับผู้บริโภคในรูปของซูชิ

และจากนั้นมาซูชิแซลมอนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นไป ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะต้องใช้ความพยายามมากถึง 10 ปีเลยทีเดียว ขอบคุณคุณบิยอร์นแทนคนทั่วโลกจริงๆ

ข้อมูลจาก

ขอบคุณภาพจาก
Great Big Story

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

About the author

ออ

ดูบทความผู้เขียน

ชอบเรียนภาษา ดูหนังและชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ เป็นครูสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติและปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นคนญี่ปุ่นเลยได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันกับชาวญี่ปุ่นเกือบทุกวัย นอกจากนี้ ก็เป็นคนเขียนบทประจำให้กับรายการ DID YOU KNOW…? และมีเพจภาษาอังกฤษบนเฟสบุ๊ค

https://www.facebook.com/English-in-the-Air-227307993959056/