บทความที่เกี่ยวข้อง มาแต่งตัวเป็นนินจาพร้อมปฏิบัติภารกิจร่วมทีมที่ศาลเจ้าฟูชิมิ อินาริ แห่งเกียวโตกัน
ชมใบไม้เปลี่ยนสีที่วัดทอง (วัดคินคะคุจิ) ที่เกียวโต 2017/09/25 ชมใบไม้เปลี่ยนสีที่วัดทอง (วัดคินคะคุจิ) ที่เกียวโต 2017/09/25 Credit: ผู้เขียน ใบไม้แดงกับวัดทองเป็นอะไรที่สวยสะพรึงสุดๆ แล้วล่ะค่ะ…พูดเลย Credit: ผู้เขียน เราจึงไม่รอช้าที่จะพาไปเที่ยวเมืองเกียวโต ที่ตั้งของวัดทองในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี มาถึงที่จอดรถแล้วก็เห็นใบไม้แดงสวยๆ เลย (เช่ารถขับไปเที่ยวเองค่ะ มีลานจอดหน้าวัดเลย) Credit: ผู้เขียน เดินเยอะหน่อยนะคะงานนี้ ทางเดินเข้าชมก็เริ่มเห็นความงดงามของใบไม้สีต่างๆ เสียค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 400 เยน เด็ก 300 เยน เวลาเปิดให้เข้าชม ทุกวัน 09.00 – 17.00 น. Credit: ผู้เขียน สวยตั้งแต่ทางเข้าเลย…เป็นใบไม้ที่สีออกอมส้มและแดงสลับๆ กันไป Credit: ผู้เขียน บอกก่อนว่าเราไปประมาณวันที่ 20 ของเดือนพฤศจิกายน อากาศเริ่มหนาวแล้วนะคะ (สำหรับคนไทยเราถือว่าหนาวเลย) Credit: ผู้เขียน ไปช่วงเช้าค่ะ แสงสวยดี Credit: ผู้เขียน เจอใบไม้ตามพื้นก็เก็บภาพเก๋ๆ สวยๆ เอาไว้ทำ Background ได้ Credit: ผู้เขียน เดินมาสักพักก็เห็นศาลาทองแล้วค่ะ เย่ๆ Credit: ผู้เขียน “วัดคินคะคุจิ (Kinkakuji)” หรือวัดศาลาทอง หรือวัดทอง เป็นวัดเซน ตั้งอยู่ทางเหนือของเกียวโต เป็นลักษณะสร้างด้วยแผ่นทอง (สองชั้นบน) และยอดศาลาเป็นนกฟีนิกซ์ทอง งดงามสุดๆ แบบที่เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไอคอนที่แสดงให้เห็นความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างงดงาม Credit: ผู้เขียน วัดนี้เคยเป็นจวนหรือบ้านพักของท่านโชกุนอาชิกาก้า โยชิมิสุ (Ashikaga Yoshimitsu) และท่านโชกุนได้มอบให้เป็นวัดเซน เมื่อท่านเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1408 Credit: ผู้เขียน ภาพที่เราจะได้เห็นวัดทองในหนังสือหรือเว็บไซต์ต่างๆ ก็จะเป็นจากมุมนี้แหละค่ะ Credit: ผู้เขียน ลองปรับแสงแฟลชให้เห็นใบไม้แดงๆ ดูบ้าง Credit: ผู้เขียน บ่อน้ำนิ่งๆที่สะท้อนศาลากลางน้ำสีทองแล้วมีใบไม้แดงสะท้อนอยู่ด้วย เราว่าเป็นอะไรที่สวยงามแบบที่คุ้มค่ามากๆ ที่ชีวิตหนึ่งได้เห็น Credit: ผู้เขียน เราค่อยๆ เดินจากมุมหนึ่ง ไปอีกมุมที่เราขอนำเสนอว่าเป็นมุมที่สวยสุดของใบไม้แดงในวัดทอง Credit: ผู้เขียน ค่อยๆ เดินเลาะบ่อน้ำกันไป Credit: ผู้เขียน ต้นโมมิจิจะอยู่เป็นระยะๆ Credit: ผู้เขียน สวยนิ่งๆ Credit: ผู้เขียน พอเราเดินอ้อมมาถึงอีกฝั่งของศาลาทองกลางน้ำ มองกลับไปจากจุดที่เราเดินมา จะเห็นผู้คนจำนวนมากเก็บภาพกันแบบตื่นตาตื่นใจ (ทุกคนยืนเงียบๆ นะคะ ไม่โหวกเหวก พูดกันเบาๆ สงบมากๆ) Credit: ผู้เขียน มาอีกมุมค่ะ Credit: ผู้เขียน สีออกจะเขียวๆ ของต้นสน Credit: ผู้เขียน เดี๋ยวจะคิดว่าวันที่เราไปเป็นวัดร้างไม่มีคน จริงๆ แล้วคนเยอะมากนะคะ Credit: ผู้เขียน ภาพมุมนี้เป็นเหมือนคนขี้อาย Credit: ผู้เขียน และมุมนี้แหล่ะค่ะ ที่เราว่าสวยสุดๆ แดง-ทอง ตัดกันแบบสุดยอดไปเลย Credit: ผู้เขียน เป็นต้นโมมิจิเล็กๆ แต่มีความสำคัญมาก Credit: ผู้เขียน ทำให้ได้ภาพสวยงามสุดๆ ท้องฟ้าก็เป็นใจอะไรขนาดนั้น Credit: ผู้เขียน ใบแดงๆ ของโมมิจิหรือเมเปิ้ลใต้ต้น Credit: ผู้เขียน ดูเป็นศิลปะ Credit: ผู้เขียน คันไม้คันมือเลยหยิบใบไม้ที่ร่วงมาถ่ายภาพเก๋ๆ Credit: ผู้เขียน ไม่ได้เด็ดจากต้นนะคะ หยิบมาถ่ายเบาๆ มือแล้วก็วางคืนไปเหมือนเดิม Credit: ผู้เขียน มุมเสยๆ ดูสง่างาม Credit: ผู้เขียน เวลาไปเที่ยวช่วงใบไม้แดง อย่าลืมเงยหน้าถ่ายภาพใบไม้แดงตัดกับท้องฟ้านะคะ Credit: ผู้เขียน เทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้ได้ภาพสุดประทับใจ Credit: ผู้เขียน นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวกันมากค่ะ เพราะของจริงนั้นสวยกว่าภาพที่เรานำมาฝากกันอีกนะคะ Credit: ผู้เขียน ปลาน้อยใหญ่ในบ่อน้ำใสๆ ในวัดทอง Credit: ผู้เขียน ใบส้มๆ ก็สวยอีกแบบค่ะ Credit: ผู้เขียน โดยส่วนตัวเราชอบใบไม้ที่ออกสีส้มๆ แบบนี้ ได้ความรู้สึกถึงการมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง… Credit: ผู้เขียน การเปลี่ยนถ่ายของฤดูกาล และทุกสรรพสิ่งบนโลก Credit: ผู้เขียน ได้สัจธรรมพร้อมๆ กับความงดงาม Credit: ผู้เขียน สวยสงบแบบวิถีเซน Credit: ผู้เขียน เราว่ามาวัดทองนี่คุ้มค่าสุดๆ แล้วล่ะค่ะในช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสีหรือใบไม้แดง Credit: ผู้เขียน ตั้งแต่ทางเข้าจนถึงตัวศาลาทอง ไปจนถึงทางออก มีความสวยงามอยู่ตลอดสองข้างทาง Credit: ผู้เขียน สวยสมคำร่ำลือจริงๆ Credit: ผู้เขียน เป็นอีกสถานที่ในเกียวโตที่ต้องมาให้ได้นะคะ ถ้าไม่ได้มาที่นี่ก็มาไม่ถึงเกียวโตค่ะ Credit: ผู้เขียน ก่อนกลับก็แวะซื้อโปสการ์ดหน้าวัดและเขียนส่งติดสแตมป์ตรงนั้น เดินมาหย่อนที่ตู้ริมถนนใกล้ๆ กับร้านขายโปสการ์ดได้เลยค่ะ Credit: ผู้เขียน อำลาไปด้วยภาพใบไม้แดง ส้ม และเขียว…ใบภาพเดียวเลย หากขับรถมาสามารถจอดได้ที่ลานจอดรถทั้ง 3 แห่งตามแผนผังเลยค่ะ จอดรถแล้วข้ามถนนไปวัดคินคะคุจิไม่ไกลค่ะ หากขึ้นรถบัส: เดิน 3 นาที จากป้ายรถบัส Kinkakuji-mae (สาย 12, 59) หรือเดิน 5-10 นาทีจากป้ายรถบัส Kinkakuji-michi (สาย 101, 205) ที่ตั้ง: 1 Kinkakujichō, Kita-ku, Kyōto-shi, Kyōto 603-8361 Japan เว็บไซต์: http://shokoku-ji.jp/flash/flash.html โทร: +81 75-461-0013 แผนที่: ดูบทความที่เกี่ยวข้อง About the author RiangSupod ดูบทความผู้เขียน เลขาสาวผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรมญี่ปุ่น จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์-ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เคยอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เดินทางไปทำงานและไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นบ่อยๆ ทำให้มีเพื่อนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันเป็นเลขานุการผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง คิดถูกใจ Komachi JAPAN ถูกใจ แชร์เลย
ใบไม้แดงกับวัดทองเป็นอะไรที่สวยสะพรึงสุดๆ แล้วล่ะค่ะ…พูดเลย
เราจึงไม่รอช้าที่จะพาไปเที่ยวเมืองเกียวโต ที่ตั้งของวัดทองในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี มาถึงที่จอดรถแล้วก็เห็นใบไม้แดงสวยๆ เลย (เช่ารถขับไปเที่ยวเองค่ะ มีลานจอดหน้าวัดเลย)
เดินเยอะหน่อยนะคะงานนี้ ทางเดินเข้าชมก็เริ่มเห็นความงดงามของใบไม้สีต่างๆ เสียค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 400 เยน เด็ก 300 เยน เวลาเปิดให้เข้าชม ทุกวัน 09.00 – 17.00 น.
สวยตั้งแต่ทางเข้าเลย…เป็นใบไม้ที่สีออกอมส้มและแดงสลับๆ กันไป
บอกก่อนว่าเราไปประมาณวันที่ 20 ของเดือนพฤศจิกายน อากาศเริ่มหนาวแล้วนะคะ (สำหรับคนไทยเราถือว่าหนาวเลย)
ไปช่วงเช้าค่ะ แสงสวยดี
เจอใบไม้ตามพื้นก็เก็บภาพเก๋ๆ สวยๆ เอาไว้ทำ Background ได้
เดินมาสักพักก็เห็นศาลาทองแล้วค่ะ เย่ๆ
“วัดคินคะคุจิ (Kinkakuji)” หรือวัดศาลาทอง หรือวัดทอง เป็นวัดเซน ตั้งอยู่ทางเหนือของเกียวโต เป็นลักษณะสร้างด้วยแผ่นทอง (สองชั้นบน) และยอดศาลาเป็นนกฟีนิกซ์ทอง งดงามสุดๆ แบบที่เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไอคอนที่แสดงให้เห็นความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างงดงาม
วัดนี้เคยเป็นจวนหรือบ้านพักของท่านโชกุนอาชิกาก้า โยชิมิสุ (Ashikaga Yoshimitsu) และท่านโชกุนได้มอบให้เป็นวัดเซน เมื่อท่านเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1408
ภาพที่เราจะได้เห็นวัดทองในหนังสือหรือเว็บไซต์ต่างๆ ก็จะเป็นจากมุมนี้แหละค่ะ
ลองปรับแสงแฟลชให้เห็นใบไม้แดงๆ ดูบ้าง
บ่อน้ำนิ่งๆที่สะท้อนศาลากลางน้ำสีทองแล้วมีใบไม้แดงสะท้อนอยู่ด้วย เราว่าเป็นอะไรที่สวยงามแบบที่คุ้มค่ามากๆ ที่ชีวิตหนึ่งได้เห็น
เราค่อยๆ เดินจากมุมหนึ่ง ไปอีกมุมที่เราขอนำเสนอว่าเป็นมุมที่สวยสุดของใบไม้แดงในวัดทอง
ค่อยๆ เดินเลาะบ่อน้ำกันไป
ต้นโมมิจิจะอยู่เป็นระยะๆ
สวยนิ่งๆ
พอเราเดินอ้อมมาถึงอีกฝั่งของศาลาทองกลางน้ำ มองกลับไปจากจุดที่เราเดินมา จะเห็นผู้คนจำนวนมากเก็บภาพกันแบบตื่นตาตื่นใจ (ทุกคนยืนเงียบๆ นะคะ ไม่โหวกเหวก พูดกันเบาๆ สงบมากๆ)
มาอีกมุมค่ะ
สีออกจะเขียวๆ ของต้นสน
เดี๋ยวจะคิดว่าวันที่เราไปเป็นวัดร้างไม่มีคน จริงๆ แล้วคนเยอะมากนะคะ
ภาพมุมนี้เป็นเหมือนคนขี้อาย
และมุมนี้แหล่ะค่ะ ที่เราว่าสวยสุดๆ แดง-ทอง ตัดกันแบบสุดยอดไปเลย
เป็นต้นโมมิจิเล็กๆ แต่มีความสำคัญมาก
ทำให้ได้ภาพสวยงามสุดๆ ท้องฟ้าก็เป็นใจอะไรขนาดนั้น
ใบแดงๆ ของโมมิจิหรือเมเปิ้ลใต้ต้น
ดูเป็นศิลปะ
คันไม้คันมือเลยหยิบใบไม้ที่ร่วงมาถ่ายภาพเก๋ๆ
ไม่ได้เด็ดจากต้นนะคะ หยิบมาถ่ายเบาๆ มือแล้วก็วางคืนไปเหมือนเดิม
มุมเสยๆ ดูสง่างาม
เวลาไปเที่ยวช่วงใบไม้แดง อย่าลืมเงยหน้าถ่ายภาพใบไม้แดงตัดกับท้องฟ้านะคะ
เทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้ได้ภาพสุดประทับใจ
นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวกันมากค่ะ เพราะของจริงนั้นสวยกว่าภาพที่เรานำมาฝากกันอีกนะคะ
ปลาน้อยใหญ่ในบ่อน้ำใสๆ ในวัดทอง
ใบส้มๆ ก็สวยอีกแบบค่ะ
โดยส่วนตัวเราชอบใบไม้ที่ออกสีส้มๆ แบบนี้ ได้ความรู้สึกถึงการมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง…
การเปลี่ยนถ่ายของฤดูกาล และทุกสรรพสิ่งบนโลก
ได้สัจธรรมพร้อมๆ กับความงดงาม
สวยสงบแบบวิถีเซน
เราว่ามาวัดทองนี่คุ้มค่าสุดๆ แล้วล่ะค่ะในช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสีหรือใบไม้แดง
ตั้งแต่ทางเข้าจนถึงตัวศาลาทอง ไปจนถึงทางออก มีความสวยงามอยู่ตลอดสองข้างทาง
สวยสมคำร่ำลือจริงๆ
เป็นอีกสถานที่ในเกียวโตที่ต้องมาให้ได้นะคะ ถ้าไม่ได้มาที่นี่ก็มาไม่ถึงเกียวโตค่ะ
ก่อนกลับก็แวะซื้อโปสการ์ดหน้าวัดและเขียนส่งติดสแตมป์ตรงนั้น เดินมาหย่อนที่ตู้ริมถนนใกล้ๆ กับร้านขายโปสการ์ดได้เลยค่ะ
อำลาไปด้วยภาพใบไม้แดง ส้ม และเขียว…ใบภาพเดียวเลย
หากขับรถมาสามารถจอดได้ที่ลานจอดรถทั้ง 3 แห่งตามแผนผังเลยค่ะ จอดรถแล้วข้ามถนนไปวัดคินคะคุจิไม่ไกลค่ะ หากขึ้นรถบัส: เดิน 3 นาที จากป้ายรถบัส Kinkakuji-mae (สาย 12, 59) หรือเดิน 5-10 นาทีจากป้ายรถบัส Kinkakuji-michi (สาย 101, 205)
ที่ตั้ง: 1 Kinkakujichō, Kita-ku, Kyōto-shi, Kyōto 603-8361 Japan
เว็บไซต์:
โทร: +81 75-461-0013
แผนที่:
About the author
RiangSupod
เลขาสาวผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรมญี่ปุ่น จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์-ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เคยอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เดินทางไปทำงานและไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นบ่อยๆ ทำให้มีเพื่อนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบันเป็นเลขานุการผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง
คิดถูกใจ