เมื่อดอกฮิกังบานะบาน ก็ได้เวลาของฤดูใบไม้ร่วงแล้วซินะ…

เมื่อดอกฮิกังบานะบาน ก็ได้เวลาของฤดูใบไม้ร่วงแล้วซินะ…

Credit: Kazunobu Masuda

เมื่อดอกฮิกังบานะบาน ก็ได้เวลาของฤดูใบไม้ร่วงแล้วซินะ…

Credit: Kazunobu Masuda

ในประเทศญี่ปุ่น ดอกฮิกังบานะ (Higanbana) ถือเป็นดอกไม้ลึกลับที่มีชื่อกว่า 1,090 ชื่อ บางทีฝรั่งก็จะเรียกว่า “Red Spider Lily” หรือ “ดอกพลับพลึงแมงมุม” ว่ากันว่าในอดีตมักนำไปปลูกไว้ตามคันนาหรือใกล้สุสาน ทั้งนี้เพราะในหัวของต้นดอกฮิกังบานะ มีพิษสามารถป้องกันหนูหรือสัตว์ร้ายไม่ให้เข้าไปกัดกินข้าวในนาหรือศพที่ถูกฝังไว้ และนั่นคือที่มาของชื่อนานาประการ เช่น “ดอกไม้ผี” (Yurei-bana) “ดอกไม้คนตาย” (Shibito-bana) อันไม่เป็นมงคล ไปจนถึงชื่อตามพุทธศาสนาเช่น “ปรมิตตา” (Manjushage) และ “ฮิกังบะนะ” (Higanbana) ซึ่งชื่อหลังสุดนี่เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปใช้ร่วมกันในปัจจุบัน (ข้อมูลจาก Osaka Convention & Tourism Bureau)

Credit: Kazunobu Masuda

คำว่า “ฮิกัง” (Higan) หมายถึงประเพณีบังสุกุลบรรพบุรุษของคนญี่ปุ่นกระทำกัน 2 ครั้งในหนึ่งปี ครั้งที่สองคือราวกลางถึงปลายเดือนกันยายน แทบทุกปีมักจะตรงกับช่วงที่ดอกฮิงังบะนะโผล่ยอดออกมาบนดิน พร้อมคลี่กลีบบานอย่างรวดเร็วก่อนที่จะโรยไปพร้อมๆกับการสิ้นสุดของเทศกาลบังสุกุลพอดิบพอดี (ข้อมูลจาก Osaka Convention & Tourism Bureau) ทำให้คนญี่ปุ่นบางคนก็กลัวดอกไม้ชนิดนี้ค่ะ แต่เรากลับคิดว่ามันสวยมากๆ เลยล่ะ

Credit: Kazunobu Masuda

โดยในช่วงปลายเดือนกันยายนของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาที่ดอกฮิกังบานะบานเต็มที่ โดยในปี 2017 นี้ เราขอนำภาพสวยๆ จากสวนของมิยากามิโจ โตโยต้าซิตี้ นาโกย่า มาฝากกันค่ะ เริ่มบานแล้วตั้งแต่ 24 กันยายน 2560 ไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ก็โรยแล้วค่ะ

Credit: Kazunobu Masuda

หลังจากบานเต็มที่ไม่นาน จากนั้นเมื่อเข้าสู่เดือนตุลาคมอากาศก็จะเริ่มเย็นลงและถือเป็นการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงหรือใบไม้แดงกันแล้ว

Credit: Kazunobu Masuda

สำหรับในประเทศไทย อาจจะคุ้นๆ หน้าตากันดี พลับพลึงแดง หรือ พลับพลึงดอกแดง น่าจะอยู่ในตระกูลเดียวกับว่านมหาลาภ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum amabile Donn)

ดอกฮิกังบานะเป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ และปักชำหัว ใบนำเอามาย่างไฟ พันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ขัดยอก ใช้อยู่ไฟหลังคลอด ต้มรับประทานทำให้อาเจียน มีรสขม ในอินเดียใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ รักษาโรค เกี่ยวกับน้ำดี เมล็ดเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เป็นยาบำรุงด้วยค่ะ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ที่มีดอกสีแดง…

สีขาวก็มีค่ะ แต่หายาก

Credit: Kazunobu Masuda

และมีสีม่วงด้วยค่ะ

แผนที่:

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

About the author

riangsupod-profile_pic_image

RiangSupod

ดูบทความผู้เขียน

เลขาสาวผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรมญี่ปุ่น จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์-ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เคยอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เดินทางไปทำงานและไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นบ่อยๆ ทำให้มีเพื่อนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบันเป็นเลขานุการผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง

ถูกใจ แชร์เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลิดเพลินและสัมผัสกับนกฮูกนานาชนิดได้ที่ Kamakura Owl’s

คึกคักสไตล์วัยรุ่นที่ดองกี้สาขานาโกย่าซาคาเอะ

บุฟเฟ่ต์สตรอเบอรี่: VERY BERRY FARM NISHIWAKI

ชมปลาวาฬหลังค่อมอย่างใกล้ชิดที่เกาะโอกินาวา

พักกาย สบายกระเป๋า ด้วย Guest house ที่เด็กเข้าพักได้ (ตอนที่ 2-3 จ.คากาวะ)

ร้านขายของกระจุ๊กกระจิ๊ก Flying Tiger Copenhagen

เทศกาลดอกพิงค์มอสที่สวน Hitsujiyama 14 เม.ย.-7 พ.ค.2017

“Nemophila Harmony” งานเทศกาลดอกเนโมฟิลาในสวนฮิตาชิ ซีไซด์ ปาร์ค ปี 2018 (เริ่ม 21 เม.ย.-13 พ.ค.2018 นี้)

เที่ยวชมเทศกาลหิมะเมืองยามากาตะ(Yamagata Snow Festival)