ปีชงในญี่ปุ่น

ปีชงในญี่ปุ่น

 

この投稿をInstagramで見る

 

住吉大社 | sumiyoshitaisha(@sumiyoshitaisha_spirit)がシェアした投稿


พอพูดถึงปีชง มักจะนึกถึงเรื่องให้คุณให้โทษกับคนที่มีปีเกิดที่ชงในปีนั้นๆ ที่ญี่ปุ่นก็มีความเชื่อแบบเดียวกันนี้
ว่ากันว่าชาวญี่ปุ่นราว 30% นับถือศาสนาเดียว นอกนั้น ส่วนใหญ่ไม่ยึดกับศาสนาใดศาสนาเดียว แต่ปฏิบัติตามธรรมเนียมของหลายๆ ศาสนา
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักชอบไปศาลเจ้าช่วงปีใหม่ และช่วงเวลาสำคัญๆ ของชีวิต เช่น ก่อนสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก่อนจะคลอดลูก อีกช่วงหนึ่งที่คนญี่ปุ่นจะชอบไปที่ศาลเจ้าหรือวัดก็คือช่วงปีชง
ปีชง ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 厄年(yakudoshi) 厄 (yaku) แปลว่า ความทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งหมายถึงการเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ มีเรื่องไม่สบายใจ มีหนี้สิน มีเรื่องเครียด เรื่องเศร้าเสียใจต่างๆ คนญี่ปุ่นถือว่าในช่วงปีนั้นจะต้องระมัดระวังตัวให้ดี ความเชื่อนี้มีสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณกว่า 1, 200 ปีมาแล้ว
ความเชื่อเกี่ยวกับช่วงอายุและปีชงของผู้ชายและผู้หญิงก็ไม่เหมือนกัน สำหรับผู้ชายจะอยู่ในช่วงอายุที่ 25 ปี ที่ 42 ปี และที่ 61 ปี ส่วนผู้หญิงอยู่ที่อายุ 19 ปี ที่ 33 ปี และที่ 61 ปี การนับชงจะนับเพิ่มอีกทั้งก่อนและหลังอีก 1 ปี เมื่อรวมปีชงด้วยแล้วทั้งหมดคือสามปีติดต่อกันทีเดียว แบบนี้คงต้องระวังตัวให้มากขึ้นแล้วค่ะ

 

この投稿をInstagramで見る

 

住吉大社 | sumiyoshitaisha(@sumiyoshitaisha_spirit)がシェアした投稿


เมื่ออายุถึงหรือเข้าเกณฑ์ปีชงจะแก้ไขยังไง คนญี่ปุ่นมักจะไปวัดหรือศาลเจ้า เพื่อขจัดโชคร้าย ที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า 厄払い(yakubarai)

วิธีขจัด 厄払い(yakubarai) มีอยู่ 3 อย่าง คือ

1.ไปหาพระให้สวดมนต์ขจัดสิ่งไม่ดีและความโชคร้ายออกไป วิธีนี้ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสวดมนต์ (คนญี่ปุ่นเรียกว่า 祈祷料kitouryo) ราคาที่ประมาณ 1,500 บาท หรือ 5,000 เยน
2. ซื้อเครื่องรางแบบกระดาษ ที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า 御札(ofuda) นำไปปิดไว้ในบ้าน
3. ซื้อเครื่องรางอันเล็กๆ ที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า お守り(omamori) สำหรับพกพาติดตัวไว้
แต่ว่าในปีชง จะเจอเรื่องแย่ๆ หรือไม่นั้น บางคนก็เจอจริงแต่บางคนไม่มีอะไรเลยและยังผ่านไปได้ด้วยดี คนญี่ปุ่นจึงคิดว่าการพยายามดูแลรักษาตัวเองให้ดีๆ เป็นการช่วยอีกทาง การทำความดีหรือการช่วยเหลือคนที่ประสบความลำบากจะทำให้จิตใจดีมีความสุข และย่อมพาให้เจอแต่โชคดี เหมือนที่คนไทยเชื่อแบบเดียวกันนี้ค่ะ

 

この投稿をInstagramで見る

 

住吉大社 | sumiyoshitaisha(@sumiyoshitaisha_spirit)がシェアした投稿


ในญี่ปุ่นจะพบเห็นศาลเจ้าอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ สุดท้ายนี้จึงขอแนะนำศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ที่คนญี่ปุ่นชอบไปเพื่อขอให้ขจัดเรื่องร้ายๆ และขอพรกัน ศาลเจ้านี้ชื่อว่า (住吉大社) ค่ะ ศาลเจ้าแห่งนี้ อยู่ที่โอซาก้า ที่นี่เป็นศาลเจ้าเก่าแก่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย 1800 ปีมาแล้ว ศาลเจ้า sumiyoshi มีอยู่ที่ที่อื่นด้วย ทั่วญี่ปุ่นมีประมาณ 2,300 แห่ง แต่ที่โอซาก้า เป็นศาลเจ้าหลักสำหรับศาลเจ้า sumiyoshi ค่ะ
ทุกปีในช่วงปีใหม่ ผู้คนราว 2 ล้านคนจะมาเยี่ยมวัดนี้ไม่ว่าจะเป็นปีชงของพวกเขาหรือไม่ เพื่อมาอธิษฐานขอพรกันค่ะ ด้านในสถานที่นั้น กว้างขว้าง มีต้นไม้และธรรมชาติสวยงาม ถ้ามีโอกาสไปโอซาก้า ลองไปเยี่ยมชมกันนะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sumiyoshi Taisha

ที่ตั้ง: 2-9-89 Sumiyoshi, Sumiyoshi-ku, Osaka 558-0045

สถานที่: รถไฟ: เดิน 5 – 10 นาที จาก Sumiyoshi Taisha Station [Nankai Main Line]

รถราง: เดิน 3 นาที จาก Sumiyoshikoen-Torimae Station [Hankai Uemachi Line]

โทร: +81-6-6672-0753

เวลาเปิดทำการ: เดือนเมษายน – เดือนกันยายน เปิด 6 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น
เดือนตุลาคม – เดือนมีนาคม เปิด 6 โมงครึ่งถึง 5 โมงเย็น

วันหยุด: เปิดทุกวัน

ราคา: เข้าชมฟรี

เว็บไซต์

ข้อมูลจาก Kansai Shashin / J PLAN / Talon Japan

ดูบทความที่เกี่ยวข้อง

About the author

PHENNEE

ดูบทความผู้เขียน

รักทิวทัศน์ธรรมชาติ งานประดิษฐ์ งานศิลปะ ชอบประเทศญี่ปุ่นมากตรงที่มีธรรมชาติสวยงาม มีงานศิลปะและสิ่งของน่ารักๆ แบบฉบับญี่ปุ่น โชคดีที่มีเพื่อนชาวญี่ปุ่นจึงมีโอกาสมาญี่ปุ่นบ่อยๆ หลังเกษียนจากงานประจำได้หันมาทำงานเขียนเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนๆ

ถูกใจ แชร์เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Muhi S2a Liquid (มูฮิ เอส2เอ) แบบตัวปั๊มรักษาอาการคันจากยุงและแมลงสัตว์กัดต่อย

เมื่อแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น GU (จียู) ลดราคา…มาดูกันว่าจะลดหนักถึงขั้นไหน

เทคโนโลยีสุดคูลที่ญี่ปุ่นจะนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020

“มูฮิเบบี้ครีม : MUHI Baby Cream” ครีมที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มคุณแม่ลูกอ่อน

4 แอปพลิเคชั่นหาคู่ยอดนิยมในญี่ปุ่น

มาหัดทำผมเปียง่ายๆกัน

ตู้ฝากกระเป๋า (Coin Locker) สิ่งจำเป็นถ้าเที่ยวโดยรถไฟในญี่ปุ่น

Hisamitsu FEITAS Z Cream ครีมทารักษาอาการเจ็บปวด

เครื่องเขียนสารพัดสัตว์สุดน่ารัก สินค้าแนะนำจากไดโซะ!