บทความที่เกี่ยวข้อง พักผ่อนบนเกาะสวรรค์ “อามามิ โอชิมะ” กับ “THE SCENE” ที่พักหรู หาดทรายขาว น้ำใส ท้องฟ้าสีคราม
พาไปแตะขอบฟ้าบนยอดฟูจิซัง : เส้นทาง Gotemba Trail ปี 2018 เปิดให้ขึ้น 10 ก.ค.-10 ก.ย. นี้ 2018/08/24 พาไปแตะขอบฟ้าบนยอดฟูจิซัง : เส้นทาง Gotemba Trail ปี 2018 เปิดให้ขึ้น 10 ก.ค.-10 ก.ย. นี้ 2018/08/24 Credit: IG: _charcoal_ ในปี 2018 นี้ ทางประเทศญี่ปุ่นเปิดให้ประชาชนนักท่องเที่ยวปีนขึ้นฟูจิซังได้ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม – 10 กันยายน 2018 เราจึงขอพาเพื่อนๆ ร่วมการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของคุณบี สาวน้อยตัวเล็กๆ ที่ขอออกไปแตะขอบฟ้าบนยอดฟูจิซัง โดยเลือกเส้นทาง Gotemba Trail กันค่ะ Credit: IG: _charcoal_ การปีนฟูจิซังสักครั้งในชีวิตเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดค่ะ แต่ไม่ใช่ว่านึกอยากจะปีนก็จองตั๋วบินไปปีนได้ตลอดนะคะ ฟูจิซังมีฤดูกาลเปิดรับผู้มาเยือนเฉพาะช่วงฤดูร้อนประมาณกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนกันยายนของทุกปี ว่าแล้วเราก็มาเตรียมของที่จะต้องใช้ในครั้งนี้กันก่อนค่ะ โอ้โห…อะไรเยอะแยะ มาค่ะ มาดูที่ละชิ้นว่าคุณบีเตรียมอะไรไปบ้าง 1.รองเท้าปีนเขา (Trekking shoes/boots) รองเท้าผ้าใบเก็บไว้ที่บ้านเลยนะคะ ใช้ไม่ได้ ไม่เกาะหินภูเขาไฟ ลื่น นตรายค่ะ ต้องใช้ร้องเท้าปีนเขาเท่านั้น 2.เสื้อ/ถุงมือ/ถุงเท้า ชุดกันฝนและกันหนาว พวกเสื้อดาวน์แบบกันน้ำ Heat Tech อะไรก็ว่าไป 3. ชุดชั้นในแบบแห้งง่ายและเบาสบาย 4. ไฟฉายติดศีรษะ (Light Head lamp) แบบถือด้วยมือเก็บไว้ที่บ้านเลยนะคะ ปีนฟูจิต้องใช้สองมือประคองร่างกายของเราให้ผ่านพ้นแต่ละชั้นของฟูจิซังอย่างยากลำบาก 5. ขวดน้ำดื่ม 2 ลิตร แต่ไม่ต้องเอาไปก็ได้หนักและเป็นภาระค่ะ ไปซื้อเอาข้างบนมีขาย แบกไปพอประมาณก่อน 6. ขนมเบาๆ พอทานให้หายหิว เช่น กล้วย แครกเกอร์ น้ำผลไม้แบบเจลลี่ดูดๆ 7.ถุงขยะเพื่อนำขยะที่เราเอาติดตัวไปลงมาทิ้งข้างล่าง 8. เงินสด (เงินเยน) มีร้านค้าจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม (ไม่รับบัตรเครดิต) และค่าเข้าห้องสุขา 9. ออกซิเจนกระป๋อง อันนี้เราขอสั่งให้เพื่อนๆ เอาไปด้วย เพราะอากาศมันเบาบางสุดๆ สำคัญ เอาไปคนละ 1-2 กระป๋องเผื่อๆ (บางคนไม่ได้ใช้เลย แต่เราใช้เยอะเลยค่ะ ถ้าหายใจไม่ทันก็จะแย่เอานะคะ) 10. หมวก/แว่นตา/ไม้ปีนเขา (ถ้ามี) และอื่นๆ ข้อควรระวังคือ ฟูจิซังเป็นภูเขาไฟที่ยัง Active หรือสามารถปะทุได้ ต้องเผื่อเคสฉุกเฉินไว้ด้วยคือพวกหมวกกันหินถล่มและหน้ากากกันฝุ่นละอองค่ะ เก็บกระเป๋าแล้วก็มาเลือกเส้นทางกันเลย ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าการปีนฟูจิซัง ที่เป็นภูเขาไฟใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น กินอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จึงสามารถปีนขึ้นได้หลายเส้นทาง (Trail) เหมือนเขาพระวิหารบ้านเราที่ขึ้นได้ทั้งทางไทยและกัมพูชาอะไรประมาณนี้ โดยการปีนฟูจิซังจะแบ่งออกเป็น 4 เส้นทาง ตามสีสัญลักษณ์ คือ 1. เส้นทางโยะชิดะ (Yoshida) เหลือง : เส้นทางนี้ได้รับความนิยมจากนักปีนเขามากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเดินทางไป-มาสะดวก และมีที่พักเปิดให้บริการมากมาย แต่เพราะเป็นเส้นทางที่นิยมมาก คนจึงหนาแน่นมากโดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ 2. เส้นทางชูบะชิริ (Subashiri) แดง : เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่เขียวชอุ่มที่สุด เนื่องจากสองข้างทางเป็นป่าไม้ จึงไม่ร้อนมาก นอกจากนี้ เส้นทางนี้ได้รับความนิยมจากนักปีนเขาน้อย การเดินทางจึงเงียบสงบ เหมาะแก่ผู้ชอบความเป็นส่วนตัว 3. เส้นทางโกเท็มบะ (Gotemba) เขียว: เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ลำบากที่สุด และใช้เวลาในการปีนมากที่สุดจึงเหมาะสำหรับนักปีนเขาที่แข็งแรงและมีประสบการณ์ 4. เส้นทางฟูจิโนะมิยะ (Fujinomiya) น้ำเงิน: เส้นทางนี้คือเส้นทางที่สั้นที่สุดในการไปถึงยอดภูเขาไฟฟูจิ เหมาะสำหรับนักปีนเขามือใหม่ Credit: IG: _charcoal_ คุณบีของเรา เลือกเส้นทางโกเทมบะ (Gotemba Trail) สีเขียว โดยสตาร์ทการเดินทางจากสถานีโกเทมบะ (Gotemba Station) ไปยังฟูจิซังชั้น 5 ซึ่งคือจุดเริ่มต้นการปีนภูเขาไฟฟูจิอันเพลิดเพลิน และวางแผนว่าจะลงสู่ชั้น 5 ตามเส้นทางโกเทมบะ (ทางเดิม) ด้วยค่ะ ค่าตั๋ว 1,540 เยนต่อเที่ยวค่ะ Credit: IG: _charcoal_ เส้นทางโกเทมบะ (Gotemba Trail) สีเขียวจะใช้เวลาเดินขึ้นประมาณ 7 ชม. และลงอีก 3 ชม. (แบบไม่หยุดพัก) จะใช้เวลาปีนขึ้นนานกว่าเส้นทางอื่น 1 ชม.ค่ะ ว่าแล้วก็ไปกันเลย การวางแผนการปีนเขาควรหลีกเลี่ยงช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ เพราะผู้คนจะล้นหลามมาก ไม่ว่าจะเป็นเส้นทาง Yoshida Trail, Subashiri Trail, Fujinomiya Trail หรือ Gotemba Trail นี่คือภาพคนแห่กันขึ้นมาแน่นๆ เดินติดๆ กัน เสี่ยงหินถล่มด้วยค่ะ โดยสถิติผู้มาปีนฟูจิซังเมื่อปี 2017 เส้นทางโยชิดะ (Yoshida Trail) จำนวน 172,657 คน เส้นทางสุบะชิริ (Subashiri Trail) จำนวน 23,475 คน เส้นทางโกเทมบะ (Gotemba Trail) จำนวน 18,411 คน และเส้นทางฟูจิโนะมิยะ (Fujinomiya Trail) 70,319 คน จะเห็นได้ว่าโกเทมบะเทรล…คนน้อยสุด นี่คืออีกเหตุผลที่คุณบีเลือกปีนเส้นทางนี้ค่ะ Credit: IG: _charcoal_ การปีนฟูจิซัง สำหรับคุณบีนักปีนเขาผู้พิชิตภูเขามาแล้วทั่วโลกบอกว่าไม่ยาก แต่ต้องมีการวางแผนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยความกดอากาศและระยะทาง Credit: IG: _charcoal_ เป้าหมายของการพิชิตภูเขาไฟฟูจิคือการได้เห็นแสงแรกของวันบนโลกใบกลมๆ ใบนี้ คือถ้าโล่งๆ ทัศนวิสัยดีๆ จะสวยปังมากค่ะ แต่คุณบีกระซิบว่าวันที่ไปเมฆเยอะ ได้ภาพมาฝากประมาณนี้ Credit: IG: _charcoal_ คือพระอาทิตย์ขึ้นปุ๊บเราควรจะได้เห็นแสงแรกจากที่พัก ที่เป็นกระท่อม Shelter แบบนี้ค่ะ Credit: IG: _charcoal_ บรรยากาศในกระท่อมไว้สำหรับพักเหนื่อย ทานอาหาร นอนงีบ จะเป็นถุงนอนเรียงๆกัน แคบๆเล็กๆ อบอุ่นกันเชียว Credit: IG: _charcoal_ อาหารหน้าตาประมาณนี้ที่คุณบีบอกว่า ถึงเวลานั้นทานอะไรก็อร่อยค่ะ Credit: IG: _charcoal_ หรือจะดื่มกาแฟร้อนๆ คลายหนาว เพิ่มพลังโดยการเอาคาเฟอีนเข้าเส้นเลือดกันนิดนุง บนฟูจิซังก็มีจำหน่ายค่ะ Credit: IG: _charcoal_ บางจุดจำหน่ายน้ำดื่ม จะตั้งเป็นถังกระติกแบบนี้เลยค่ะ มีราคาบอก เช่น Coca-cola กระป๋องละ 500 เยนประมาณนี้ ราคาก็แพงกว่าภาคพื้นดินแค่ 5 เท่าเอ๊ง (เสียงสูงมาก) Credit: IG: _charcoal_ แนวน้ำแข็งใสให้พลังงานและความสดชื่นได้อย่างดีก็มีขาย แต่บอกก่อนว่าบนฟูจิซังก็หนาวอยู่แล้วนะคะ แม้ว่าเป็นช่วงฤดูร้อน แต่อุณหภูมิเฉลี่ยบนยอดเขาคือ 5 องศา และจะลดลงเหลือเพียง 0 องศาหรือต่ำกว่าในเวลากลางคืนค่ะ ยิ่งถ้ามีฝนด้วยหนาวยะเยือกโหดร้ายสุดๆ ค่ะ Credit: IG: _charcoal_ ที่นั่งสำหรับพักเหนื่อย ดื่มน้ำ ชมวิว ด้วยความสูงชัน หากสภาพอากาศไม่ดีมีหมอก ฝนและพายุเข้าหนักมากๆ อาจเกิดอันตรายได้ง่าย ดังนั้นหากอากาศไม่ดีมาก ทางการญี่ปุ่น อาจประกาศให้หยุดเดิน แต่หมอกลงไม่หนักมากแบบนี้ พักแล้วเดินทางกันต่อได้ค่ะ Credit: IG: _charcoal_ จะลงหรือจะไปต่อดีล่ะ ไหวมั้ยวัยรุ่น? เอาจริงๆนะคะ แต่ละสถานีหรือแต่ละชั้นจะมีเหมือนทางลัดสำหรับผู้ที่ไม่ไหวแล้ว ด้วยความกดอากาศหรือสภาพร่างกายจิตใจอะไรก็ตาม สามารถเดินลงได้เลยค่ะ Credit: IG: _charcoal_ ระหว่างเส้นทางการเดินขึ้นเขา (บางจุดต้องปีนเพราะชันมาก) จะมีการวางเครื่องเซ่นไหว้ คล้ายๆ ไทยเราเนอะ Credit: IG: _charcoal_ ระหว่างทางขึ้นแต่ละชั้นก็จะมีศาลเจ้าด้วยนะคะ เขียนอธิษฐานได้ Credit: IG: _charcoal_ เมื่อถึงแต่ละสถานี (ก็คือแต่ละชั้นของฟูจิ) จะมีป้ายบอกแบบนี้ค่ะ เช่น ชั้น 7.9 อีก 400 เมตรจะถึงชั้น 8 และอีก 1.5 km.จะถึงยอดฟูจิซังหรือชั้น 10 เรามาดูกันก่อนว่าแต่ละชั้นสภาพเป็นอย่างไรโดยสรุป ชั้น 1-5 :ความสูง 2,000-2,300 เมตร รถบัสสามารถขึ้นมาถึงระดับที่ 5 มีที่พักและร้านค้าต่างๆมากมาย ชั้น 6 :ทางเดินไม่ชันมาก สภาพของพื้นดินก็จะเปลี่ยนเป็นก้อนหิน มีศูนย์ให้คำแนะนำด้านความปลอดภัย ชั้น 7 :ความสูงโดยประมาณ 3,000 เมตร เริ่มชันขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งกรวดและก้อนหินเพิ่มขึ้น มีบ้านพัก ชั้น 8 :สภาพของพื้นเป็นทรายกรวดก้อนหิน ใช้ทั้งมือและเท้าพยุงตัวในการปีนขึ้นเขาพร้อมออกซิเจนยิ่งน้อย มีบ้านพัก ชั้น 9 :สภาพของพื้นเป็นทรายกรวดก้อนหิน และชันเกือบ 45 องศา มีจุดชมวิวงดงาม ชั้น 10 :พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ พบปากปล่องไดโนอิน และศาลเจ้าฟุจิซังฮงเซงเกนไทฉะกู และความสวยงามของธรรมชาติ Credit: IG: _charcoal_ และนี่คือระดับความสูง 2,000 เมตร โอ้วมายก๊อด… Credit: IG: _charcoal_ เมื่อเดินมาถึงใกล้ๆ เกือบถึงยอดภูเขาไฟฟูจิ เราจะอยู่เหนือเมฆแบบนี้ละค่ะ ก็เพราะความสูงของคุณฟูจิเพียงแค่ 3,776 เมตร (เอ๊ง… เสียงสูง) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมักเรียกว่า ฟูจิซัง (Fujisan– 富士山) ประดุจเทพเจ้า (คือคนญี่ปุ่นจะไม่เรียกภูเขาไฟฟูจินะคะ จะเรียกว่า “ฟูจิซัง” ไปเลย) คุณฟูจิหรือท่านฟูจิแผ่กว้างครอบคลุมเนื้อที่รอยต่อระหว่างจังหวัดยะมะนะชิ (Yamanashin) และชิซุโอะกะ (Shizuoka) ในบริเวณใกล้เคียงสามารถแวะเที่ยวทะเลสาบทั้ง 5 (Fuji-Goko) ได้แก่ ทะเลสาบคาวากุจิโกะ,ทะเลสาบยะมะนะกะโกะ,ทะเลสาบโมโตสุโกะ,ทะเลสาบโชจิโกะ,ทะเลสาบไซโกะ Credit: IG: _charcoal_ คุณบีคิดอะไรอยู่นะ…ในวิวสูงสุดขอบฟ้าแบบนี้ เรากลายเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ด้วยความลำบากและต้องใช้ความแข็งแรงและความอดทนสูง ชาวญี่ปุ่นจึงขอพิชิตยอดภูเขาไฟนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เชื่อว่าฟูจิซังคือเทพเจ้า จึงนิยมเดินทางไปแสวงบุญที่ภูเขาไฟตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้ว Credit: IG: _charcoal_ อีกสิ่งสำคัญที่เพื่อนๆ หลายคนสะสมเมื่อไปประเทศญี่ปุ่น คือตราประทับตามสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แน่นอนว่าบนฟูจิซังต้องไม่ธรรมดาแน่นอน Credit: IG: _charcoal_ เหล็กเผาไฟแดงๆ แนบดังฉ่า…ไปบนแผ่นไม้หรือแท่งไม้ค้ำเวลาเดินขึ้นก็ได้ค่ะ Credit: IG: _charcoal_ มีหลายจุดให้ประทับได้ค่ะ จะริมทางเดิน ร้านค้า หรือศาลเจ้าก็จะมีให้บริการ Credit: IG: _charcoal_ หรือถ้าต้องการแบบแสตมป์หมึกก็มีค่ะ เลือกเก็บไปที่ระลึกอันมีคุณค่าทางจิตใจ Credit: IG: _charcoal_ เมื่อมาถึงสถานีที่ 10 หรือ Fuji Summit เราสามารถเดินต่อไปเพื่อชมรอบๆ ปากปล่องภูเขาไฟได้ด้วยนะคะ หรือถ้าหมดสภาพอิดโรยจริงๆ ก็จะเดินลงเลยก็ได้ค่ะ Credit: IG: _charcoal_ สำหรับสิ่งที่ทุกคนรอคอยคือพระอาทิตย์สาดส่องมาแล้ว…แสงแรกประมาณนี้ บริเวณปากปล่องฟูจิซัง มีคลิปค่ะ http://komachijp.com/wp-content/uploads/2018/08/CLIP-1.mp4 Credit: IG: _charcoal_ โฉมหน้าคุณบีผู้พิชิตถึงยอดและเดินรอบๆ ปากปล่องคนเดียว เดี่ยวๆ เก่งและกล้ามากๆ แถมใจดีถ่ายคลิปความสูงและความเสียวมาฝากเพื่อนๆ ชาว Komachi Japan ด้วย ใจไม่ถึงห้ามดูนะคะ มีคลิปค่ะ http://komachijp.com/wp-content/uploads/2018/08/CLIP-2.mp4 Credit: IG: _charcoal_ สำหรับการลงจากฟูจิซัง เมื่อมาถึงยอดแล้วเราสามารถเลือกลงได้หลายเส้นทาง ตามป้ายเลยค่ะ บางคนก็วางแผนขึ้นอีกทางลงอีกทาง ได้เห็นบรรยากาศทั่วๆ อย่างที่บอกนะคะ การขึ้นฟูจิซังไปได้หลายเส้นทาง เคยเลือกจากสถานีที่ 5 เส้นทางโยชิดะ (Yoshida Trail) รีวิวไว้ด้วย ลองดูนะคะเพื่อนว่าเส้นทางไหนที่เราอยากลอง ต้องขอบคุณคุณบีสาวน้อยมหัศจรรย์ไว้ด้วยค่ะ สวย โสด และสตรองมากๆ ปรบมือซิคะแบบนี้ การเดินทางจากโตเกียวไปยังเส้นทางโกเท็มบะ : นั่งรถไฟมาลงสถานีโกเท็มบะแล้วต่อรสบัสฟุจิคิวบัสมาลงที่ภูเขาไฟฟูจิระดับที่ 5 ใหม่ เส้นทางโกเท็มบะ (New Gotemba 5th Station) ราคา 1,540 เยน เว็บไซต์: http://www.fujisan-climb.jp/en บทความที่เกี่ยวข้อง ปีนภูเขาไฟฟูจิ หนึ่งในสุดยอดภารกิจพิชิตใจและกาย ปีนี้เปิดตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 10 ก.ย.60 http://komachijp.com/other-spot/10206 ดูบทความที่เกี่ยวข้อง About the author RiangSupod ดูบทความผู้เขียน เลขาสาวผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรมญี่ปุ่น จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์-ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เคยอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เดินทางไปทำงานและไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นบ่อยๆ ทำให้มีเพื่อนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันเป็นเลขานุการผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง คิดถูกใจ Komachi JAPAN ถูกใจ แชร์เลย
ในปี 2018 นี้ ทางประเทศญี่ปุ่นเปิดให้ประชาชนนักท่องเที่ยวปีนขึ้นฟูจิซังได้ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม – 10 กันยายน 2018 เราจึงขอพาเพื่อนๆ ร่วมการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของคุณบี สาวน้อยตัวเล็กๆ ที่ขอออกไปแตะขอบฟ้าบนยอดฟูจิซัง โดยเลือกเส้นทาง Gotemba Trail กันค่ะ
การปีนฟูจิซังสักครั้งในชีวิตเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดค่ะ แต่ไม่ใช่ว่านึกอยากจะปีนก็จองตั๋วบินไปปีนได้ตลอดนะคะ ฟูจิซังมีฤดูกาลเปิดรับผู้มาเยือนเฉพาะช่วงฤดูร้อนประมาณกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนกันยายนของทุกปี ว่าแล้วเราก็มาเตรียมของที่จะต้องใช้ในครั้งนี้กันก่อนค่ะ โอ้โห…อะไรเยอะแยะ มาค่ะ มาดูที่ละชิ้นว่าคุณบีเตรียมอะไรไปบ้าง
1.รองเท้าปีนเขา (Trekking shoes/boots) รองเท้าผ้าใบเก็บไว้ที่บ้านเลยนะคะ ใช้ไม่ได้ ไม่เกาะหินภูเขาไฟ ลื่น นตรายค่ะ ต้องใช้ร้องเท้าปีนเขาเท่านั้น
2.เสื้อ/ถุงมือ/ถุงเท้า ชุดกันฝนและกันหนาว พวกเสื้อดาวน์แบบกันน้ำ Heat Tech อะไรก็ว่าไป
3. ชุดชั้นในแบบแห้งง่ายและเบาสบาย
4. ไฟฉายติดศีรษะ (Light Head lamp) แบบถือด้วยมือเก็บไว้ที่บ้านเลยนะคะ ปีนฟูจิต้องใช้สองมือประคองร่างกายของเราให้ผ่านพ้นแต่ละชั้นของฟูจิซังอย่างยากลำบาก
5. ขวดน้ำดื่ม 2 ลิตร แต่ไม่ต้องเอาไปก็ได้หนักและเป็นภาระค่ะ ไปซื้อเอาข้างบนมีขาย แบกไปพอประมาณก่อน
6. ขนมเบาๆ พอทานให้หายหิว เช่น กล้วย แครกเกอร์ น้ำผลไม้แบบเจลลี่ดูดๆ
7.ถุงขยะเพื่อนำขยะที่เราเอาติดตัวไปลงมาทิ้งข้างล่าง
8. เงินสด (เงินเยน) มีร้านค้าจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม (ไม่รับบัตรเครดิต) และค่าเข้าห้องสุขา
9. ออกซิเจนกระป๋อง อันนี้เราขอสั่งให้เพื่อนๆ เอาไปด้วย เพราะอากาศมันเบาบางสุดๆ สำคัญ เอาไปคนละ 1-2 กระป๋องเผื่อๆ (บางคนไม่ได้ใช้เลย แต่เราใช้เยอะเลยค่ะ ถ้าหายใจไม่ทันก็จะแย่เอานะคะ)
10. หมวก/แว่นตา/ไม้ปีนเขา (ถ้ามี) และอื่นๆ
ข้อควรระวังคือ ฟูจิซังเป็นภูเขาไฟที่ยัง Active หรือสามารถปะทุได้ ต้องเผื่อเคสฉุกเฉินไว้ด้วยคือพวกหมวกกันหินถล่มและหน้ากากกันฝุ่นละอองค่ะ
เก็บกระเป๋าแล้วก็มาเลือกเส้นทางกันเลย ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าการปีนฟูจิซัง ที่เป็นภูเขาไฟใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น กินอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จึงสามารถปีนขึ้นได้หลายเส้นทาง (Trail) เหมือนเขาพระวิหารบ้านเราที่ขึ้นได้ทั้งทางไทยและกัมพูชาอะไรประมาณนี้ โดยการปีนฟูจิซังจะแบ่งออกเป็น 4 เส้นทาง ตามสีสัญลักษณ์ คือ
1. เส้นทางโยะชิดะ (Yoshida) เหลือง : เส้นทางนี้ได้รับความนิยมจากนักปีนเขามากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเดินทางไป-มาสะดวก และมีที่พักเปิดให้บริการมากมาย แต่เพราะเป็นเส้นทางที่นิยมมาก คนจึงหนาแน่นมากโดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
2. เส้นทางชูบะชิริ (Subashiri) แดง : เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่เขียวชอุ่มที่สุด เนื่องจากสองข้างทางเป็นป่าไม้ จึงไม่ร้อนมาก นอกจากนี้ เส้นทางนี้ได้รับความนิยมจากนักปีนเขาน้อย การเดินทางจึงเงียบสงบ เหมาะแก่ผู้ชอบความเป็นส่วนตัว
3. เส้นทางโกเท็มบะ (Gotemba) เขียว: เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ลำบากที่สุด และใช้เวลาในการปีนมากที่สุดจึงเหมาะสำหรับนักปีนเขาที่แข็งแรงและมีประสบการณ์
4. เส้นทางฟูจิโนะมิยะ (Fujinomiya) น้ำเงิน: เส้นทางนี้คือเส้นทางที่สั้นที่สุดในการไปถึงยอดภูเขาไฟฟูจิ เหมาะสำหรับนักปีนเขามือใหม่
คุณบีของเรา เลือกเส้นทางโกเทมบะ (Gotemba Trail) สีเขียว โดยสตาร์ทการเดินทางจากสถานีโกเทมบะ (Gotemba Station) ไปยังฟูจิซังชั้น 5 ซึ่งคือจุดเริ่มต้นการปีนภูเขาไฟฟูจิอันเพลิดเพลิน และวางแผนว่าจะลงสู่ชั้น 5 ตามเส้นทางโกเทมบะ (ทางเดิม) ด้วยค่ะ ค่าตั๋ว 1,540 เยนต่อเที่ยวค่ะ
เส้นทางโกเทมบะ (Gotemba Trail) สีเขียวจะใช้เวลาเดินขึ้นประมาณ 7 ชม. และลงอีก 3 ชม. (แบบไม่หยุดพัก) จะใช้เวลาปีนขึ้นนานกว่าเส้นทางอื่น 1 ชม.ค่ะ ว่าแล้วก็ไปกันเลย
การวางแผนการปีนเขาควรหลีกเลี่ยงช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ เพราะผู้คนจะล้นหลามมาก ไม่ว่าจะเป็นเส้นทาง Yoshida Trail, Subashiri Trail, Fujinomiya Trail หรือ Gotemba Trail
นี่คือภาพคนแห่กันขึ้นมาแน่นๆ เดินติดๆ กัน เสี่ยงหินถล่มด้วยค่ะ โดยสถิติผู้มาปีนฟูจิซังเมื่อปี 2017 เส้นทางโยชิดะ (Yoshida Trail) จำนวน 172,657 คน เส้นทางสุบะชิริ (Subashiri Trail) จำนวน 23,475 คน เส้นทางโกเทมบะ (Gotemba Trail) จำนวน 18,411 คน และเส้นทางฟูจิโนะมิยะ (Fujinomiya Trail) 70,319 คน จะเห็นได้ว่าโกเทมบะเทรล…คนน้อยสุด นี่คืออีกเหตุผลที่คุณบีเลือกปีนเส้นทางนี้ค่ะ
การปีนฟูจิซัง สำหรับคุณบีนักปีนเขาผู้พิชิตภูเขามาแล้วทั่วโลกบอกว่าไม่ยาก แต่ต้องมีการวางแผนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยความกดอากาศและระยะทาง
เป้าหมายของการพิชิตภูเขาไฟฟูจิคือการได้เห็นแสงแรกของวันบนโลกใบกลมๆ ใบนี้ คือถ้าโล่งๆ ทัศนวิสัยดีๆ จะสวยปังมากค่ะ แต่คุณบีกระซิบว่าวันที่ไปเมฆเยอะ ได้ภาพมาฝากประมาณนี้
คือพระอาทิตย์ขึ้นปุ๊บเราควรจะได้เห็นแสงแรกจากที่พัก ที่เป็นกระท่อม Shelter แบบนี้ค่ะ
บรรยากาศในกระท่อมไว้สำหรับพักเหนื่อย ทานอาหาร นอนงีบ จะเป็นถุงนอนเรียงๆกัน แคบๆเล็กๆ อบอุ่นกันเชียว
อาหารหน้าตาประมาณนี้ที่คุณบีบอกว่า ถึงเวลานั้นทานอะไรก็อร่อยค่ะ
หรือจะดื่มกาแฟร้อนๆ คลายหนาว เพิ่มพลังโดยการเอาคาเฟอีนเข้าเส้นเลือดกันนิดนุง บนฟูจิซังก็มีจำหน่ายค่ะ
บางจุดจำหน่ายน้ำดื่ม จะตั้งเป็นถังกระติกแบบนี้เลยค่ะ มีราคาบอก เช่น Coca-cola กระป๋องละ 500 เยนประมาณนี้ ราคาก็แพงกว่าภาคพื้นดินแค่ 5 เท่าเอ๊ง (เสียงสูงมาก)
แนวน้ำแข็งใสให้พลังงานและความสดชื่นได้อย่างดีก็มีขาย แต่บอกก่อนว่าบนฟูจิซังก็หนาวอยู่แล้วนะคะ แม้ว่าเป็นช่วงฤดูร้อน แต่อุณหภูมิเฉลี่ยบนยอดเขาคือ 5 องศา และจะลดลงเหลือเพียง 0 องศาหรือต่ำกว่าในเวลากลางคืนค่ะ ยิ่งถ้ามีฝนด้วยหนาวยะเยือกโหดร้ายสุดๆ ค่ะ
ที่นั่งสำหรับพักเหนื่อย ดื่มน้ำ ชมวิว ด้วยความสูงชัน หากสภาพอากาศไม่ดีมีหมอก ฝนและพายุเข้าหนักมากๆ อาจเกิดอันตรายได้ง่าย ดังนั้นหากอากาศไม่ดีมาก ทางการญี่ปุ่น อาจประกาศให้หยุดเดิน แต่หมอกลงไม่หนักมากแบบนี้ พักแล้วเดินทางกันต่อได้ค่ะ
จะลงหรือจะไปต่อดีล่ะ ไหวมั้ยวัยรุ่น? เอาจริงๆนะคะ แต่ละสถานีหรือแต่ละชั้นจะมีเหมือนทางลัดสำหรับผู้ที่ไม่ไหวแล้ว ด้วยความกดอากาศหรือสภาพร่างกายจิตใจอะไรก็ตาม สามารถเดินลงได้เลยค่ะ
ระหว่างเส้นทางการเดินขึ้นเขา (บางจุดต้องปีนเพราะชันมาก) จะมีการวางเครื่องเซ่นไหว้ คล้ายๆ ไทยเราเนอะ
ระหว่างทางขึ้นแต่ละชั้นก็จะมีศาลเจ้าด้วยนะคะ เขียนอธิษฐานได้
เมื่อถึงแต่ละสถานี (ก็คือแต่ละชั้นของฟูจิ) จะมีป้ายบอกแบบนี้ค่ะ เช่น ชั้น 7.9 อีก 400 เมตรจะถึงชั้น 8 และอีก 1.5 km.จะถึงยอดฟูจิซังหรือชั้น 10 เรามาดูกันก่อนว่าแต่ละชั้นสภาพเป็นอย่างไรโดยสรุป
ชั้น 1-5 :ความสูง 2,000-2,300 เมตร รถบัสสามารถขึ้นมาถึงระดับที่ 5 มีที่พักและร้านค้าต่างๆมากมาย
ชั้น 6 :ทางเดินไม่ชันมาก สภาพของพื้นดินก็จะเปลี่ยนเป็นก้อนหิน มีศูนย์ให้คำแนะนำด้านความปลอดภัย
ชั้น 7 :ความสูงโดยประมาณ 3,000 เมตร เริ่มชันขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งกรวดและก้อนหินเพิ่มขึ้น มีบ้านพัก
ชั้น 8 :สภาพของพื้นเป็นทรายกรวดก้อนหิน ใช้ทั้งมือและเท้าพยุงตัวในการปีนขึ้นเขาพร้อมออกซิเจนยิ่งน้อย มีบ้านพัก
ชั้น 9 :สภาพของพื้นเป็นทรายกรวดก้อนหิน และชันเกือบ 45 องศา มีจุดชมวิวงดงาม
ชั้น 10 :พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ พบปากปล่องไดโนอิน และศาลเจ้าฟุจิซังฮงเซงเกนไทฉะกู และความสวยงามของธรรมชาติ
และนี่คือระดับความสูง 2,000 เมตร โอ้วมายก๊อด…
เมื่อเดินมาถึงใกล้ๆ เกือบถึงยอดภูเขาไฟฟูจิ เราจะอยู่เหนือเมฆแบบนี้ละค่ะ ก็เพราะความสูงของคุณฟูจิเพียงแค่ 3,776 เมตร (เอ๊ง… เสียงสูง) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมักเรียกว่า ฟูจิซัง (Fujisan– 富士山) ประดุจเทพเจ้า (คือคนญี่ปุ่นจะไม่เรียกภูเขาไฟฟูจินะคะ จะเรียกว่า “ฟูจิซัง” ไปเลย) คุณฟูจิหรือท่านฟูจิแผ่กว้างครอบคลุมเนื้อที่รอยต่อระหว่างจังหวัดยะมะนะชิ (Yamanashin) และชิซุโอะกะ (Shizuoka) ในบริเวณใกล้เคียงสามารถแวะเที่ยวทะเลสาบทั้ง 5 (Fuji-Goko) ได้แก่ ทะเลสาบคาวากุจิโกะ,ทะเลสาบยะมะนะกะโกะ,ทะเลสาบโมโตสุโกะ,ทะเลสาบโชจิโกะ,ทะเลสาบไซโกะ
คุณบีคิดอะไรอยู่นะ…ในวิวสูงสุดขอบฟ้าแบบนี้ เรากลายเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ด้วยความลำบากและต้องใช้ความแข็งแรงและความอดทนสูง ชาวญี่ปุ่นจึงขอพิชิตยอดภูเขาไฟนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เชื่อว่าฟูจิซังคือเทพเจ้า จึงนิยมเดินทางไปแสวงบุญที่ภูเขาไฟตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้ว
อีกสิ่งสำคัญที่เพื่อนๆ หลายคนสะสมเมื่อไปประเทศญี่ปุ่น คือตราประทับตามสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แน่นอนว่าบนฟูจิซังต้องไม่ธรรมดาแน่นอน
เหล็กเผาไฟแดงๆ แนบดังฉ่า…ไปบนแผ่นไม้หรือแท่งไม้ค้ำเวลาเดินขึ้นก็ได้ค่ะ
มีหลายจุดให้ประทับได้ค่ะ จะริมทางเดิน ร้านค้า หรือศาลเจ้าก็จะมีให้บริการ
หรือถ้าต้องการแบบแสตมป์หมึกก็มีค่ะ เลือกเก็บไปที่ระลึกอันมีคุณค่าทางจิตใจ
เมื่อมาถึงสถานีที่ 10 หรือ Fuji Summit เราสามารถเดินต่อไปเพื่อชมรอบๆ ปากปล่องภูเขาไฟได้ด้วยนะคะ หรือถ้าหมดสภาพอิดโรยจริงๆ ก็จะเดินลงเลยก็ได้ค่ะ
สำหรับสิ่งที่ทุกคนรอคอยคือพระอาทิตย์สาดส่องมาแล้ว…แสงแรกประมาณนี้ บริเวณปากปล่องฟูจิซัง มีคลิปค่ะ
โฉมหน้าคุณบีผู้พิชิตถึงยอดและเดินรอบๆ ปากปล่องคนเดียว เดี่ยวๆ เก่งและกล้ามากๆ แถมใจดีถ่ายคลิปความสูงและความเสียวมาฝากเพื่อนๆ ชาว Komachi Japan ด้วย ใจไม่ถึงห้ามดูนะคะ มีคลิปค่ะ
สำหรับการลงจากฟูจิซัง เมื่อมาถึงยอดแล้วเราสามารถเลือกลงได้หลายเส้นทาง ตามป้ายเลยค่ะ บางคนก็วางแผนขึ้นอีกทางลงอีกทาง ได้เห็นบรรยากาศทั่วๆ อย่างที่บอกนะคะ การขึ้นฟูจิซังไปได้หลายเส้นทาง เคยเลือกจากสถานีที่ 5 เส้นทางโยชิดะ (Yoshida Trail) รีวิวไว้ด้วย ลองดูนะคะเพื่อนว่าเส้นทางไหนที่เราอยากลอง ต้องขอบคุณคุณบีสาวน้อยมหัศจรรย์ไว้ด้วยค่ะ สวย โสด และสตรองมากๆ ปรบมือซิคะแบบนี้
การเดินทางจากโตเกียวไปยังเส้นทางโกเท็มบะ : นั่งรถไฟมาลงสถานีโกเท็มบะแล้วต่อรสบัสฟุจิคิวบัสมาลงที่ภูเขาไฟฟูจิระดับที่ 5 ใหม่ เส้นทางโกเท็มบะ (New Gotemba 5th Station) ราคา 1,540 เยน
เว็บไซต์:
บทความที่เกี่ยวข้อง
About the author
RiangSupod
เลขาสาวผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรมญี่ปุ่น จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์-ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เคยอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เดินทางไปทำงานและไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นบ่อยๆ ทำให้มีเพื่อนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบันเป็นเลขานุการผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง
คิดถูกใจ